วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สีสันอาหาร...สีสันสุขภาพ กับพอลลีน่า เคดี Paulena KD

สีสันอาหาร...สีสันสุขภาพ ผักและผลไม้ที่มีสีที่แตกต่างกัน ย่อมมีสารสังเคราะห์ ( Phytonutrients หรือ Phytochemicals ) ที่ไม่เหมือนกันด้วย ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีและเป็นการป้องกันโรคร้ายที่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง ( โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดัน ) เราจึงควรกินผักและผลไม้ให้หลากสีหลากชนิด ครบทั้ง 5 สีดังนี้
1. สีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง มีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันและชะลอความเสื่อมของดวงตา มีมากในกระหล่ำปลีสีม่วง ชมพู่แดง ถั่วแดง ถั่วดำ มะเขือม่วง องุ่นแดง แอปเปิ้ลแดง ลูกพรุน ลูกเกด บลูเบอรี่ สตรอเบอรี่ ฯลฯ
2. สีเขียว มีสารอาหารสำคัญอยู่หลายชนิด ได้แก่
คลอโรฟิลล์ ช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดแดง กำจัดสารพิษ ป้องกันตับ ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เส้นเลือดขอด เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดอาการภูมิแพ้ ป้องกันเซลล์เสื่อมก่อนวัย มีอยู่มากในสาหร่ายสไปรูลิน่า อัลฟัลฟ่า ผักโขม และผักใบเขียวอื่นๆ

เบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยดูแลรักษาผิวพรรณ ลดความเสี่ยงของมะเร็ง เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงรักษาตา มีมากใน บร็อกโคลี่ ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ

ลูทีนและซีแซนทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก และโรคศูนย์จอเสื่อมในผู้สูงอายุ มีอยู่มากในผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม ผักปวยเล้ง แตงกวาทั้งเปลือก ถั่วแขก ถั่วลันเตา ฯลฯ

อินโดล ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับให้สร้างเอนไซม์ออกมาต้านเซลล์มะเร็ง และเร่งการกำจัดฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกินจึงป้องกันการเกิดมะเร็งที่มดลูกและเต้านม อินโดลมีมากในผักวงศ์กะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บล็อกโคลี คะน้า หัวไชเท้า ฯลฯ
ฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันไม่ให้คลอเรสเตอรอลจับกับผนังหลอดเลือด พบได้มากในไวน์แดง ชาเขียว หัวหอม ถั่วเหลือง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอย่างส้ม มะนาว ฯลฯ
3. สีขาว สีชา และน้ำตาล มีสารประกอบสำคัญหลายชนิด ได้แก่
อัลลิซิน มีฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง มีมากในกระเทียม ต้นกระเทียม หัวหอม กุ่ยช่าย ขึ้นฉ่าย เซเลอรี่ เห็ด ฯลฯ
ฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง มีมากใน หัวหอมใหญ่ แอปเปิ้ล ต้นกระเทียม ฝรั่ง ชาขาว ชาเขียว ฯลฯ
ไอโซฟลาโวน มีฤทธิ์เป็นไฟโตเอสโตรเจน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งที่เต้านม ลำไส้ใหญ่ และที่ต่อมลูกหมาก มีมากใน ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
แซนโทน มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่า ต้านเชื้อโรคหลายชนิด ช่วยรักษาระดับน้ำตาลและระบบภูมิคุ้มกัน พบมากในเนื้อสีขาวและเปลือกของผลมังคุด
เพ็กติน เป็นเส้นใยที่ละลายน้ำได้ สามารถจับกับน้ำตาลและค่อยๆปล่อยออกสู่กระแสเลือดอย่างช้าๆทำให้รู้สึกอิ่มหลังกิน ช่วยลดความอยากอาหาร จึงใช้เป็นอาหารควบคุมน้ำหนัก มีมากใน แอปเปิ้ล ฝรั่ง แก้วมังกร และผลไม้อื่นๆที่ทำแยมได้
นอกจากนี้ยังมีผลไม้สีขาว สีน้ำตาลอีกหลายชนิดที่ควรกินสลับสับเปลี่ยนไป ได้แก่ กล้วย สาลี่ พุทรา ลางสาด ลองกอง เงาะ ลิ้นจี่ ละมุด ลำไย ฯลฯ
4. สีเหลือง สีส้ม มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น วิตามินซี แคโรทีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ ซึ่งจะช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด บำรุงสายตา ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสี่ยงการเป็นโรคต้อกระจกและโรคมะเร็ง มีมากใน แครอท มะละกอ ฟักทอง มะม่วงสุก ส้ม ขนุน แคนตาลูป เสาวรส ขมิ้นชัน ฯลฯ
5. สีแดง มี สารไลโคปีน ซึ่งเป็นกลุ่มแคโรทีนอยด์ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง และช่วยลดไขมันในเลือด มีมากใน มะเขือเทศ กระเจี๊ยบแดง มะละกอ บีทรูท สตรอเบอรี่ เชอรี่ ฯลฯ
การกินผักผลไม้เป็นประจำทุกวันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่น่าเสียดายที่สาร phytonutrients เหล่านี้มักจะเหลือน้อยลงเมื่อผักผลไม้ถูกเก็บไว้นานและความร้อนจากการปรุงอาหารก็ทำให้สารที่แสนจะมีประโยชน์เหล่านี้สลายหายไปด้วยเหตุนี้เองผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายๆ ชนิดจึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคโดยเฉพาะชาวอเมริกันและชาวยุโรปที่ตื่นตัวกับเรื่องการดูแลสุขภาพเป็นอย่างมาก


Phytonutrients & Phytochemicals คืออะไร?

" Phytonutrient " หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่พืชสังเคราะห์ขึ้นและเก็บสะสมไว้ที่ส่วนต่างๆ แต่ไม่ได้หมายถึง สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน หรือเกลือแร่ 
" Phytonutrient " เป็นสารประกอบที่ให้ผลดีต่อสุขภาพของคนเรา ซึ่งบางทีก็เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "Phytochemical "
Phytonutrients ได้แก่สารกลุ่มใดบ้าง ?
  • แคโรทีนอยด์ ( Carotenoids )
  • โปลีฟีนอล : ฟลาโวนอยด์ ( Polyphenols : Flavonoids )
  • อิโนซิทอล ฟอสเฟต : ไฟเตท ( Inositol Phosphates : Phytates )
  • ลิกนิน : ไฟโตเอสโตรเจน ( Lignans : Phytoestrogens )
  • ธโอไซยาเนตและอินโดล ( Isothiocyanates and Indoles )
  • ฟีนอลและไซคลิก คอมปาวน์ด ( Phenols and Cyclic Compounds )
  • ซาโปนิน ( Saponins )
  • ซัลไฟด์และไธโอน ( Sulfides and Thiolds )
  • เทอปีน ( Terpenes )
  • ใยอาหาร ( Dietary fiber )
Phytonutrients มีประโยชน์อย่างไร?
  1. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่
  2. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  3. ช่วยให้นอนหลับและคลายเครียด
  4. ช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง
  5. ช่วยซ่อมแซม DNA ที่ถูกทำลายจากสารพิษ บุหรี่ แอลกอฮอล์
  6. รักษาสมดุลย์ของโฮร์โมนและเอ็นไซม์
  7. ช่วยปกป้องหัวใจและระบบไหลเวียนของโลหิต
  8. ช่วยรักษาความยืดหยุ่นและความชุุ่มชื้นของผิวพรรณ
  9. ช่วยเพิ่มสมรรถาพทางร่างกายและทางเพศ

Phytonutrients ร่างกายได้รับเพียงพอหรือไม่? 
ร่างกายจะได้รับ จากการบริโภคอาหารพวกผักและผลไม้ ซึ่งควรต้องมีการค้นค้วาเพิ่มเติมว่าผักหรือผลไม้ชนิดใดมีสารสังเคราะห์ใดเป็นพิเศษและต้องใส่ใจบริโภคเป็นประจำอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณมากพอจึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพยิ่งๆขึ้นไป แต่ในยุคที่ต้องแข่งกับเวลานี้พบว่าเราไม่สามารถได้รับสาร Phytonutrients อย่างเพียงพอจากอาหารปกติประจำวัของเราเพียงอย่างเดียว
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติของตนเอง 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสั่งซื้อสินค้าได้ที่...
ร้านสะดวกซื้อพอลลีน่า Paulena Shopping Plaza ขอขอบพระคุณลูกค้าที่ให้การอุดหนุนร้านของเราด้วยดีเสมอมา!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น